บทความ ขนาดแรงม้า (HP) กิโลวัตต์ (kW) และกิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) สัมพันธ์กันอย่างไร ?

บทความ ขนาดแรงม้า (HP) กิโลวัตต์ (kW) และกิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) สัมพันธ์กันอย่างไร ?

ขนาดแรงม้า (HP) กิโลวัตต์ (kW) และกิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) สัมพันธ์กันอย่างไร ?

  • ทั้งสามเป็นหน่วยบอกขนาดกำลังของเครื่องจักรอุปกรณ์ โดยที่เครื่องจักรกล เช่น กังหันก๊าซหรือกังหันไอน้ำ ใช้ได้เฉพาะหน่วย HP และ kW ขณะที่เครื่องจักรไฟฟ้า เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถใช้ได้ทั้งสามหน่วย
  • 1 HP = 746 W หรือ 0.746 kW
  • 5 HP = 3730 W หรือ 3.73 kW
  • ขนาดพิกัดกำลังการผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Nominal Rated Capacity) นอกจากจะระบุเป็นกำลังไฟฟ้าใช้งานจริง kW (Active Power) แล้ว สามารถระบุได้เป็นกำลังไฟฟ้าปรากฏ kVA (Apparent Power) ด้วย โดยมีสัดส่วนระหว่างกันเป็นค่าตัวประกอบกำลัง (Power Factor) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 0.8 – 1.0 ทั้งนี้ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงมีค่าตัวประกอบกำลังเท่ากับ 1.0 หรือ kW = kVA
  • P.F. = kW / kVA
  • kVA = kW / P.F.
  • 1000 kVA = 800 kW / 0.8 กล่าวคือ กำลังการผลิตไฟฟ้าขนาด 1000 kVA เท่ากับ 800 kW ที่ตัวประกอบกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ 0.8
  • 1000 kVA = 800 kW = 1072 HP

แรงม้า (Horse Power)

  • แรงม้าหรือกำลังม้า เป็นหน่วยวัดกำลังหรืออัตราการทำงาน
  • โดยกำหนดว่า 1 แรงม้า คือ อัตราการทำงานได้ 550-ฟุต-ปอนด์ต่อวินาที
  • 1 แรงม้า มีค่าเท่ากับ 745.5 วัตต์ (746 วัตต์)

ขอขอบคุณที่มา สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และภาพจาก NMSU

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *